ความรู้เกียวกับดวงตา

Presbyopia หรือภาวะสายตายาวตามอายุ เป็นภาวะที่ส่งผลให้ดวงตามองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัดเจนเหมือนเดิม อาการมักพบหลังอายุ 40 ปีเป็นต้นไป โดยสาเหตุหลักของ Presbyopia มาจากการเสื่อมของดวงตาตามธรรมชาติเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อาการสายตายาวสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยทำให้มองเห็นตัวหนังสือไม่ชัดเจน สายตาพร่ามัว หากเป็นผู้ที่ต้องใช้สายตาในการทำงานก็อาจได้รับผลกระทบได้ จึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม

สายตาเอียง (Astigmatism) เป็นปัญหาสายตาที่เกิดจากกระจกตาหรือเลนส์ตามีความโค้งไม่เท่ากันหรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ ทำให้มองเห็นเป็นภาพเบลอ หรือเห็นภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล ทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการปวดหัว ปวดตา หรือตาล้าหลังจากใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือ หรือการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยสายตาเอียงสามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกับปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว

สายตายาว (Hyperopia) คือ ภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติ โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมีลูกตาเล็กหรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล ซึ่งสายตายาวในทางการแพทย์หมายถึง อาการสายตายาวที่เกิดตั้งแต่อายุยังน้อยยังไม่ถึงวัยสูงอายุ และสายตายาวที่เกิดขึ้นเมื่อถึงวัยสูงอายุ (อายุ 40 ปีขึ้นไป) เรียกว่า สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia)

สายตาสั้น คือ ปัญหาเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี (Refractive Errors) ส่งผลให้มองเห็นวัตถุดังกล่าวไม่ชัด โดยผู้ที่สายตาสั้นจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด หรือมองเห็นมัวลง แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน ปัญหาสายตาสั้นมักเริ่มเป็นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือตอนที่อายุยังน้อย โดยสายตาจะค่อย ๆ สั้นลงจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับการถ่ายทอดภาวะนี้ทางพันธุกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์ที่ดีที่สุดของท่าน นอกจากนี้ท่านสามารถศึกษารายละเอียดและวิธีการตั้งค่าการควบคุมคุกกี้ของเราได้ ที่นี่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้