อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม หมายถึง กลุ่มอาการทางกายที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้พัก
เกร็ดความรู้เรื่อง "ต้อกระจก" 1. ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อจึงไม่ลุกลามจากตาข้างหนึ่งไปอีกตาข้างหนึ่ง แต่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองตา หรือเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวก่อนแต่รอยโรคและอาการอาจลุกลามมากน้อยไม่เท่ากัน 2. การใช้สายตามากๆ ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดต้อกระจก หรือทำให้อาการที่เป็นอยู่ลุกลามมากขึ้น 3. ต้อกระจกมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนกว่าสายตาของผู้ป่วยจะขุ่นมัวจนมองเห็นไม่ชัด อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือหลายปี โดยทั่วไปต้อกระจกถือว่าเป็นโรคทางตาที่รักษาแล้วได้ผลดีมาก อ้างอิง: http://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.27.1.html สาเหตุต้อกระจก 1. วัยสูงอายุ คือ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แก้วตาจะขุ่นและแข็งตัวเร็วขึ้น แต่ต้อกระจกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่อายุเพียง 40 ปี 2. อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจกได้ หากดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดนของมีคม สารเคมี หรือสารรังสี 3. โรคตา หรือ โรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวาน การรับประทานยาบางชนิด โรคตาบางโรค อาจจะเป็นสาเหตุหรือกระตุ้นให้ต้อกระจกขุ่นเร็วขึ้นได้ 4. กรรมพันธุ์ และความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่พบต้อกระจกในผู้ป่วยที่เยาว์วัย เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ หรือจากการติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อ้างอิง: http://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.27.1.html อาการต้อกระจก 1. สายตามัวเหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง จะมัวเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์แก้วตา หากเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณขอบเลนส์ ผู้ป่วยจะยังคงมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ 2. เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า อาการระยะแรกของต้อกระจกในผู้ป่วยบางราย จะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น เรียกว่า "สายตากลับ" เมื่อเป็นต้อกระจกรุนแรงขึ้นสายตาจะขุ่นมัวจนแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ สังเกตได้จากการมองผ่านรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีขาว 3. สู้แสงสว่างไม่ได้ 4. มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ อ้างอิง: http://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.27.1.html
ต้อเนื้อ หรือ ต้อลิ้นหมา (Pterygium) คือ โรคตาที่เกิดจากเยื่อบุตาที่เกิดการเสื่อมและหนาตัวขึ้นงอกไปบนกระจกตา (ตาดำ) ซึ่งมักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา และจะค่อย ๆ โตลุกลามอย่างช้า ๆ เข้าไปในตาดำ ถ้าเป็นมากจะลามเข้าไปจนถึงกลางตาดำและปิดรูม่านตา ซึ่งจะปิดบังการมองเห็นทำให้ตามัวได้ ต้อเนื้อเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด (ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละค่ะ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี (ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน
ต้อลม (Pinguecula) เป็นโรคที่เกิดจากการถูกลมโกรกตาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งลมในที่นี้จะหอบเอาฝุ่นละออง ไอความร้อน และรังสีอัลตราไวโอเลตติดมากระทบตาด้วย เมื่อเกิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะเป็นผลทำให้เนื้อเยื่อที่ถูกกระทบเป็นก้อนนูนขึ้นมาบนเยื่อตาขาวใกล้ ๆ กับขอบตาดำ วันดีคืนดีก็อาจเกิดการอักเสบได้ และหากไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกต้องอาจมีการลุกลามขยายขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นแผ่นเนื้อยื่นเข้ามาในบริเวณตาดำได้ เรียกว่า “ต้อเนื้อ” โรคนี้แม้จะไม่หายขาด แต่ก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร จึงเบาใจได้ต้อลมเป็นโรคที่พบได้บ่อยจนเกือบจะเรียกว่าเป็นโรคประจำตาของคนที่ค่อนข้างมีอายุ และแทบจะไม่พบโรคนี้เลยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี